วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมบันทึกเทปรายการ นิตินิเทศน์ ประเด็นกฎหมายกับสื่อสังคมออนไลน์ : ตอน "แชร์มหาภัย"

รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมบันทึกเทปรายการ นิติเทศน์ ประเด็นกฎหมายกับสื่อสังคมออนไลน์
   ตอน "แชร์มหาภัย" 

  รายการ นิตินิเทศ เป็นรายการที่จัดทำ โดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น















วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมพูดคุยประเด็น "กฎหมายกับสื่อสังคมออนไลน์" ในรายการ จับประเด็นข่าวร้อน ช่อง 5 ( 6 กย 59)


"กฎหมายกับสื่อสังคมออนไลน์"

 ในรายการ จับประเด็นข่าวร้อน ช่อง 5 

6 กย 2559
 ประเด็น : การฆ่าตัวตายโดยเผยแพร่สื่อสังคมออนไลน์ 
พฤติกรรมการเผยแพร่แบบเรียลไทม์ เช่น เฟสบุคไลฟ์ 
พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นกระแสต่างๆ









วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โพสต์ลูกโซ่ "เฟสบุคจะเอาข้อมูลเราไป" จริงแค่ไหน จะมาสงวนสิทธิอะไรตอนนี้ ? : โดย คณาธิป ทองรวีวงศ์



วันที่ 2 กค  มีประเด็นการแชร์โพสต์ทางเฟสบุค ที่สรุปได้ว่า

 เฟสบุคจะเอาข้อมูลเช่น ภาพ วีดีโอ ของเราไป
เราจะต้องพิมพ์ข้อความและโพสต์ว่าเราไม่ยินยอม  

ทำนองว่า " ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้ Facebook รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องของ Facebook สามารถใช้รูปภาพ ข้อมูลโพสต์ของข้าพเจ้าทั้งในอดีตที่ผ่านมาและในอนาคต ..."



มีประเด็นทางกฎหมายว่า   เราต้องทำตามนั้นหรือไม่  ไม่ทำแล้วเป็นยังไง   

การตอบคำถามนี้ จะอธิบายเป็นขั้นตอนไป  


ข้อตกลงระหว่างผู้ใช้งานกับเฟสบุค

                เฟสบุคก็เหมือนผู้ให้บริการออนไลน์อื่นๆ ที่ทำข้อตกลงการใช้งาน (Term of Use) กับ ผู้ใช้แต่ละคน โดยเป็นสัญญามาตรฐานที่เฟสบุคเขียนเอาไว้ แล้ว ว่าเรากับเฟสบุคจะมีสิทธิหน้าที่อะไรต่อกัน เฟสบุคจะทำอะไรกับข้อมูลเราได้บ้  ข้อตกลงนี้มีผลเป็น สัญญา ระหว่างสองฝ่าย  
          ข้อตกลงประกอบด้วยหลายส่วน เช่น  หลักการของเฟสบุค (Facebook Principles)    และ ข้อกำหนดสิทธิหน้าที่ (Statement of Rights and Responsibilities)


1. หลักการของเฟสบุค (Facebook Principles) 

หลักสำคัญเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของข้อมูล และการควบคุมข้อมูล  (Ownership and Control of Information ) มีอยู่ว่า 

 ผู้ใช้งานเป็นเจ้าของข้อมูลของตน  และมีเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอื่นตามต้องการ รวมทั้งสิทธิในการนำข้อมูลออกจากบริการของเฟสบุค   ผู้ใช้งานมีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะแชร์ข้อมูลกับใคร  และสามารถตัดสินใจใช้การควบคุมความเป็นส่วนตัวเพื่อให้สอดคล้องกับทางเลือกของตนเอง


2. ข้อกำหนดสิทธิหน้าที่ (Statement of Rights and Responsibilities)

                หลักสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาและข้อมูลของผู้ใช้งาน มีอยู่ว่า 

 ผู้ใข้งานเป็นเจ้าของข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมดที่โพสต์ในเฟสบุค   โดยสามารถควบคุมว่าจะเผยแพร่เมื่อไร อย่างไร  ด้วยการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว  (Privacy settings)” 

                สำหรับเนื้อหาที่อยู่ภายใต้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น รูปภาพ วีดีโอ  ถือว่าคุณได้อนุญาตให้เฟสบุคสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวซึ่งผู้ใช้งานโพสต์ในเฟสบุคหรือในบริการที่เกี่ยวเนื่อง (โดยไม่มีค่าตอบแทนแต่อย่างไร  นั่นก็คือ เฟสบุคสามารถใช้ภาพหรือข้อมูลโดยไม่ต้องจ่ายค่าใช้สิทธิ หรือ Royalty ให้คุณ)   ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขการตั้งค่า Privacy setting ของคุณ      การอนุญาตนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ใช้งานลบเนื้อหาดังกล่าวหรือยกเลิกบัญชีเฟสบุค ....

                เมื่อผู้ใช้งานเผยแพร่ข้อมูลโดยกำหนดตั้งค่าให้เป็นสาธารณะ  หมายความว่า ผู้ใช้งานอนุญาตให้ทุกคน  เข้าถึงและใช้ข้อมูลดังกล่าว  


ดังนั้น  
            เราได้อนุญาตให้เฟสบุคมีสิทธิใช้ (License to use) ข้อมูลต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดีโอ ของเราโดยไม่คิดค่าตอบแทน 

   แต่ไม่ได้หมายความว่า เราโอนความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ (ถ้าภาพหรือวีดีโอนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเรา) ไปให้เฟสบุคด้วย   

การอนุญาตให้ใช้ ต่างกับ การโอนสิทธิให้เขาไป  

 เน้นว่าเรายังมีสิทธิในความเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นอยู่ เฟสบุคไม่ได้เอาความเป็นเจ้าของตรงนี้ไปด้วย  





ข้อตกลงนี้ผูกพันเราเมื่อไร



 เราอาจไม่ทราบหรือไม่เคยอ่านข้อสัญญาเหล่านี้     แต่มันผูกพันและมีผลตามกฎหมายกับเราแล้ว ตั้งแต่เมื่อ เราใช้เฟสบุค  (By using or accessing the Facebook Services, you agree …)  การที่เราตกลงใช้บริการของเฟสบุค เท่ากับว่าเราตกลงกับเงื่อนไขเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว 


 
ข้อตกลงนี้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ อย่างไร 

 
สัญญาเมื่อมีผลผูกพันแล้ว โดยหลักหากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงก็ต้องอาศัยความตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือขึ้นอยู่กับข้อสัญญาที่กำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแก้ไขได้  

ในกรณีของข้อตกลงเฟสบุค  กำหนดเกี่ยวกับการ แก้ไข (Amendments) ไว้ว่า 

เราจะแจ้งให้คุณทราบก่อนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไข โดยให้โอกาสคุณทบทวนและคอมเม้น ก่อนการใช้งานต่อไป  
หากเราจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง จะแจ้งให้ทราบโดยประกาศบนหน้าเพจอย่างเป็นทางการของเรา
หากคุณใช้งานต่อไป แสดงว่าคุณตกลงกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นแล้ว 


                ดังนั้น   ถามว่า อยู่ๆ เฟสบุคจะกำหนดให้ข้อมูลของเราที่โพสต์เป็นของเฟสบุคได้หรือไม่ ก็ตอบว่าได้ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสัญญา และ แจ้งให้เราทราบ  และ เรายังคงใช้งานต่อไป ก็ถือว่าเรายินยอม 

แต่ทั้งนี้  เฟสบุคยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการในการแก้ข้อตกลงให้ภาพหรือข้อมูลต้องตกเป็นของเฟสบุคหรือว่าให้เราโอนลิขสิทธิ์ในภาพหรือวีดีโอเป็นของเฟสบุค


ดังนั้น ตามโพสต์ลูกโซ่ที่เอามาแชร์กัน จึงตอบสรุปได้ว่า 

1    เราจึงไม่จำต้องพิมพ์บอกว่าเราไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาต ฯลฯ หรือมา ประกาศสงวนสิทธิ อะไร ใน ตอนนี้ 

  เพราะ เราอนุญาต ไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่เราเปิดใช้งานเฟสบุค

2.   แต่ที่เรายินยอมหรืออนุญาตไปนั้น ไม่ถึงขนาด โอนความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพหรือวีดีโอ ฯลฯ ของเราให้เฟสบุค        เพียงแค่อนุญาตให้เฟสบุค ใช้ ได้ฟรีๆ  เท่านั้น     
 (และโดยหลักแล้ว  เราสามารถยกเลิกเมื่อเราเอาข้อมูลนั้นออก หรือ เลิกใช้งาานเฟสบุค)

3. การที่เราจะแก้ไขข้อสัญญาต่างๆ ของเฟสบุค 

 เราไม่สามารถแก้ไขได้โดยการที่อยู่ดีๆ นึกจะแก้ข้อไหนก็พิมพ์อะไรมาโพสต์ไว้ให้เป็น public 
  หรือ ส่งข้อความแจ้งให้เฟสบุค    อย่างที่โพสต์ลูกโซ่บอกเรา 

เพราะในข้อสัญญาที่เราตกลงกันไว้ตั้งแต่ทีแรกกับเฟสบุคเมื่อเราใช้งาน 
ไม่ได้กำหนดให้เราสามารถทำอย่างนั้นได้  

                นอกจากนี้ ตาม พรบ คอมฯ ปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้แก้   

ข้อมูลโพสต์ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็น ข้อมูลเท็จ อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น (เช่นเฟสบุค) หรือประชาชน (ที่ตระหนกตกใจ)  จึงอาจเข้าข่ายความผิด ตาม พรบ คอม ม 14 

และคนที่แชร์ต่อไป  อาจจัดเป็นผู้ เผยแพร่ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จได้อีก 

โพสต์เหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับโพสต์ลูกโซ่ทั่วๆไป  ที่ไม่จำต้องรับรู้ ตื่นเต้น หรือไปแชร์ เพียงแค่ปล่อยผ่านเลยไปแล้วไปอ่านอย่างอื่นดีกว่า 

ถ้าเรากังวลกับข้อมูลของเราที่โพสต์ในเฟส   ก็ย้ำอีกทีว่า 

เราอนุญาตให้เฟสบุคใช้ไปตั้งแต่ตอนแรกเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาถูกเอาไปใช้ตอนที่มีคนโพสต์อันนี้
 





คณาธิป ทองรวีวงศ์
www.thaiprivacylaw.com

 

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คณาธิป ทองรวีวงศ์ พูดคุยประเด็น " ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่มีผลอย่างไร? " : มติชนออนไลน์ 4 พค 2559




สัมภาษณ์ รศ.คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.เซนต์จอห์น


ประเด็น  :   ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่มีผลอย่างไร?

4 พค 2559 

มติชนออนไลน์ : matichon online 

https://www.facebook.com/MatichonOnline/videos/10154832402807729/






วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมพูดคุยประเด็น ความเป็นส่วนตัว ในสื่อสังคมออนไลน์ รายการ ฮาร์ดคอร์ข่าว ช่อง 5 วันที่ 4 มีนาคม 2559


รศ คณาธิป ทองรวีวงศ์   ร่วมพูดคุยประเด็น ความเป็นส่วนตัว ในสื่อสังคมออนไลน์

รายการ ฮาร์ดคอร์ข่าว ช่อง 5  วันที่ 4 มีนาคม 2559

  เวลา 18.15 น